Wednesday, December 06, 2006

งานTie in ท่อน้ำมัน






after

befor
ก็แล้วเสร็จไปเรียบร้อยครับ สำหรับงานตัดเชื่อมต่อท่อน้ำมันระหว่างท่อเก่ากับท่อใหม่ทั้งสามท่อ คือ น้ำมันเบอร์ 2 เบอร์ 5 และlight oil จึงเรียนมาให้ทราบ

การตัดท่อที่เรียกว่า cold cut ตัดโดยไม่ใช้ไฟ


ในภาพกำลังใช้เสียมตักน้ำมันเบอร์5 ออกมาเพื่อเตรียมท่อให้สะอาดก่อนการประกอบเชื่อม


ใส่balloon plug ก่อนการประกอบเพื่อกั้นไอน้ำมัน









Thursday, October 05, 2006

ปัญหาที่ต้องเตือนและทักทวงผู้ออกแบบ



ได้แก่ปัญหาsupprot ของท่อ ดังรูป
เป็นstopper ที่ออกแบบให้มีน้ำขังได้แถมยังเชื่อมที่siteการเตรียมผิวเพื่อทำสีเข้าถึงได้ยากคุณภาพก็ไม่ดีด้วย



Guide ตามแบบมีการเชื่อมแค่3ด้านอีกด้านไม่ถูกเชื่อมทำให้มีน้ำเข้าไปได้จะก่อสนิมและเกิดการกัดกร่อนได้









Slide base ออกแบบให้เชื่อมเว้นป็นช่วง ทำให้ระว่างslide base กับbase plateมีช่องว่างทำให้น้ำเข้าไปได้ (slide baseเป็นสแตนเลส SUS304 และ base plateเป็นเหล็กcarbon steel)



สิ่งที่ไม่ควรเกิดกับการวางPipe support


ผู้ทำการติดตั้งไม่ตรวจสอบแนวจุด tie in ก่อน และไม่ตรวจสอบแนวsupport กับแนวท่อที่จะไปต่อกับจุด tie in ทำให้การเจาะรูผิดพลาดต้องเจาะใหม่
ซึ่งไม่นับการเจาะรูใหม่เพื่อหนีแนวเหล็กที่ฝังในคอนกรีต เพราะในส่วนนี้เป็นปัญหามาจากการออกแบบที่ให้มาเจาะรูใส่expansion boltในภายหลัง

ปัญหาของPipe sleeper








Pipe sleeper คือฐานคอนกรีตรองรับท่อมีลักษณะคล้ายคานคอดินสร้างอยู่บนเข็มดังรูป
ปัญหาที่พบคือเมื่อวางpipe supportลงไปจะมีช่องว่างระหว่าง pipe support กับpipe sleeperเนื่องจากไม่สามารถทำให้topคอนกรีตของpipe sleeperได้ระดับที่ถูกต้องซึ่งบางจุด็จะสูงบางจุดก็จะต่ำทำให้ต้องสกัดจุดสูงเพื่อให้ได้ระดับกับจุดต่ำผลก็คือpipe supportจะวางอยู่บนแอ่งคอนกรีตเป็นเหตุให้น้ำขังและอาจเกิดสนิมใต้ท้องpipe supportได้ ดังรูป
แนวทางการแก้ไขเห็นควรเสนอเป็นembeded plate วางและจัดให้ได้ระดับก่อนเทคอนกรีตหรือ เทคอนกรีตให้เหลือไวสัก 5 ซม.แล้วค่อยวางpacker plate หลังจากนั้นจึงทำการgroutingภายหลัง หากมีแนวทางอื่นโปรดแจ้งให้ทราบทั่วกันด้วยเผื่อโครงการที่เกิดที่หลังจะได้ไม่เกิดซ้ำ จึงเรียนมาเพื่อแจ้งให้ทราบและจะได้เตรียมการแก้ไขแบบได้ทันเวลา

Progress of tie in line


งานtie in ท่อ CW.make up และท่อFirefighting ได้ดำเนินการเสร็จสิ้นเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2546 ขณะนี้สามารถใช้ท่อเติมน้ำเข้าcooling tower ของcombined Blook 2ได้แล้วจึงเรียนมาเพื่อทราบกันครับ

Monday, September 11, 2006

งานตอกเข็มเอก First piling Ceremony


หายไปหลายสัปดาห์ เพราะต้องย้ายมาประจำที่โครงการตั้งแต่วันที่ 4 กันยาเพิ่งจะจัดofficeเสร็จไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้วและระบบLANก็ยังไม่เข้าที่ แต่ตอนนี้พร้อมที่จะมาupdateข้อมูลต่างๆแล้วครับ แรกนี้ก็มีเรื่องงานตอกเข็มเอกที่เพิ่งจะทำพิธีกันเมื่อ 31 สิงหาที่ผ่านมา ก็เป็นไปด้วยดีครับ แม้นจะมีฝนตกหนักในช่วงเช้าก็ตามแต่ก็หยุดในช่วงทำพิธีในเวลา 9.09น. ได้เหมาะเจาะที่เดียว

Monday, August 21, 2006

Spare Part (2)

สืบเนื่องจากคราวที่แล้วเขียนเรื่องนี้ไว้ในcommentเกรงว่าจะไม่เห็นว่ามาตอบเพิ่มเติมจึงขออนุญาตpostเพิ่มเติมครับ
หลังจากหายไปหลายวันก็ขอเพิ่มเติมเรื่องspare partกันสักหน่อย เราพอจะแยกได้เป็นสองส่วนคือส่วนที่สัญญาระบุไว้ว่าเป็นมีชิ้นส่วนอุปกรณ์อะไรบ้างเป็นspare part ตามที่ปรากฎใน หัวข้อ5.4 required spare patrs,Vol2,book2of2ซึ่งราคาสินค้าในหัวข้อนี้จะเป็นราคางานที่ปรากฎในสัญญา และส่วนที่สองคือส่วนที่สัญญาระบุให้ผู้ว่าจ้างเสนอขึ้นมาเองตามที่ปรากฎใน หัวข้อ5.5 Recommended operational spare partsซึ่งอุปกรณ์ในหัวข้อนี้จะตกลงซื้อขายกันตามข้อกำหนดในLong Term Part Agreement(LTPA)หัวข้อB.6Information to be submitted with proposal,(II)For LTPA (Option)ซึ่งมีใจความว่าผู้ว่าจ้างต้องเสนอรายการspare partที่ควรจะมีพร้อมราคา แล้วกฟผ.จะดำเนินการซื้อภายใน3ปีหลังจากที่ลงนามในสัญญา ส่วนcommissioning spare parts and start up spare parts ยังหาที่มาที่ไปไม่เจอใครรู้เรื่องนี้บ้างโปรดให้ความกระจ่างด้วยครับ เป็นที่น่าสังเกตว่าในหัวข้อB.6ที่อ้างถึงข้างต้นมีสาระตอนหนึ่งอ้างถึงSection1K Specimen LTPA Contractไว้ด้วยแต่เมื่อไปดูใน ในSection1Kแล้วปรากฎว่าเป็ฯ NOT USE จึงต้องตั้งข้อสังเกตไว้ด้วยหากไม่ใช้น่าจะไม่ควรกล่าวอ้างถึงเลย

Friday, August 18, 2006

ปัญหาเกี่ยวกับงาน Flue Gas Desulphurisation Unit # 1 Restortion Project

วันนี้ได้รับe-mailจากคุณบุญเดชเรื่องปัญหางานติดตั้งFGDโรงไไฟ้าราชบุรี ก็ต้องรีบเอามาลงไว้ที่นี้ก่อนเลยแม้นรายละเอียดจะยังไม่มีก็ไม่เป็นไรเอาไว้จะค่อยๆไปสอบถามเพิ่มเติมเพื่อนำมาเก็บไว้ในที่นี้ต่อไป ดังนั้นข้อนำปัญหาที่แจ้งมาลงไว้ดังนี้ครับ
1 น้ำหนักของอุปกรณ์ไม่ตรงตามแบบ เนื่องจากมีหินปูนค้างในอุปกรณ์ มีปัญหาในการยก
2 Code สีที่ใช้ในการกำหนดในการตัด Structure มีการเปลื่ยนแปลง ทำให้เกิดการสับสน
3 การตัดต่อ Structure Reuse มีการเสียหาย เนื่องจากสถานที่ทำงานไมอำนวย
4 การจัดเก็บ Structure & Pipe Reuse ไม่ดี เนื่องจากไม่มี Support
5 มีปัญหาการติดต่อสื่อสารระหว่างหน่วยงาน ขาดอุปกรณ์ในการสื่อสาร
6 แบบในการใช้ Fabrication Structure เป็นแบบที่ยังไม่ได้มีการแก้ไขตามแบบหน้างานจริง
7 การส่งของไม่เป็นไปตามลำดับ (Structure) ทำให้งานต้องรอ
8 การจัดการขนส่งไม่เป็นไปตาม Procedure ทำให้ของได้รับความเสียหาย
9 การ Fabrication อุปกรณ์ไม่ถูกต้องตามแบบ ขาดการตรวจสอบ

Sunday, August 06, 2006

Spare Parts

สัปดาห์ที่แล้ว วศ.นิรัญ คุยเรื่องspare part ให้ฟังมีอยู่สามเรื่องคือ start up spare part, recommended spare part, และ required spare part ก็เลยจะต้องมาศึกษาว่าโครงการพระนครใต้ฯมีไว้ว่าอย่างไร และที่ไม่ลงในรายละเอียดในเรื่องที่คุยกันก็เพราะว่าจะขอเวลาศึกษาที่มาที่ไปก่อน หากใครมีความรู้ในเรื่องนี้โปรดส่งความเห็นท่านมาโดยด่วนครับเรากำลังรอความรู้จากท่านครับ สำหรับหัวข้อนี้เอาไว้มาต่อกันครั้งหน้าครับ

Tuesday, August 01, 2006

1J GENERAL WELDING REQUIREMENTS

ในเนื้อหาของสัญญาระบุว่า ให้มีwelding procedureรวมทั้ง procedure qualification records(if applicable)สำหรับที่เป็น major items เสนอ กฟผ.เพื่อพิจารณาก่อนการเชื่อมหากอ่านผ่านๆแล้วคงไม่ติดใจอะไร จึงต้องยกเครดิตให้ วศ.พรชัย ที่พิจารณาเรื่องนี้อยู่และไปสะดุดกับคำว่า major items จึงขอนำมาเขียนถึงไว้ ครั้นไปดูที่นิยามในหัวข้อGC.2 Definitionsก็ไม่ได้ระบุว่าmajor items หมายถึงอะไร และแค่ไหนจึงจะเรียกว่าเป็นหรือไม่เป็น major items เพราะหากว่าเป็นเมื่อไหร่ผู้รับจ้างก็ปฏิเสธไม่ได้ที่จะไม่เสนอWPSเพื่อการพิจารณา เมื่อไม่มีกฎเกณฑ์หรือขอบเขตระบุไว้ว่าแค่ไหน จึงเปิดโอกาสให้ใช้ดุลพินิจในการพิจารณาทั้งสองฝ่าย ทั้งนี้หลักในการใช้ดุลพินิจก็ต้องมีขอบเขตแต่จะแค่ไหนอย่างไรนั้นจะขอมาอธิบายในโอกาสหน้าครับ

สำหรับกรณีนี้จะขออนุญาตเสนอข้อคิดเห็นว่า major items ในที่นี้น่าจะหมายถึงสิ่งที่มีความสำคัญในด้านความปลอดภัย ด้านประสิทธิภาพของโรงไฟฟ้า ดังนั้นหากอะไรที่จะส่งผลต่อด้านต่างๆที่กล่าวมานี้ก็จะต้องให้ความสำคัญเป็นพิเศษหนึ่งในนั้นก็คือการควบคุมคุณภาพการติดตั้งด้วยการเชื่อมไฟฟ้า ยกตัวอย่างเช่นHRSG เป็นitemที่มีความสำคัญทั้งในด้านความปลอดภัยและด้านประสิทธิภาพ จึงยกให้HRSG เป็นmajor itemsที่เมื่อทำการติดตั้งต้องควบคุมคุณภาพดังนั้นต้องเสนอWPSอย่างนี้เป็นต้น แต่ถ้าให้ความหมายอย่างนี้มาก็อาจจะมีการเถียงว่ามันกว้างมากเลยนะอย่างนี้ผู้ว่าจ้างก็ตีความว่าสำคัญหมดนะสิ

ถ้าเป็นเช่นนั้นก็จะขอยึดหลักเทียบเคียงเอาจากในstandard หรือcodeที่อ้างไว้ในสัญญาจ้างก่อสร้างโรงไฟฟ้า นั้นก็คือAWS หรือASME code หรือcodeอื่นๆที่ไม่ได้ยกตัวอย่างในครั้งนี้โดยหากงานใดหรือitemใดที่เข้าเกณฑ์ว่าอยู่ขอบเขตของcodeหรือstandard นั้นบังคับใช้ได้ก็ให้ยึดเอาตามหลักเกณฑ์นั้น

และ itemนั้นจึงจะถือว่าเป็นmajor itemและให้ปฏิบัติไปตามแนวทางนั้นหากกำหนดให้จัดทำWPSก็ต้องทำ

สรุป major item มีสาระในสองประการคือที่มีผลกระทบต่อความปลอดภัยและประสิทธิภาพอย่างหนึ่ง และที่เป็นไปตามเข้าเกณฑ์ของ codeหรือstandardในที่นี้จึงเห็นว่าในประการหลังน่าจะไม่ทำให้การใช้ดุลพินิจในการพิจารณากว้างเกินไปและน่าจะไม่คลาดเคลื่อนทั้งสองฝ่าย

จากที่กล่าวมาข้างต้นท่านเห็นเป็นเช่นไรในประเด็นที่ การเชื่อมประกอบembed e plate ที่ใช้ในงานติดตั้งโรงไฟฟ้าไม่ต้องเสนอ WPS

อนึ่งหาก ปรากฎมีความหมายของคำว่าmajor items ในหัวข้ออื่นหรือข้อเท็จจริงอื่นอีกจะได้กลับมาเล่าสู่กันฟังต่อไป ทั้งนี้หากท่านใดมีความเห็นเป็นประการใดกรุณาpostความเห็นท่านด้วยครับ


Monday, July 31, 2006

งานเครื่องกลปี2549




1. งานรื้อย้ายcooling tower make-up pump A ,Bไปติดตั้งที่ new intake
และงานติดตั้งmake-up water pipe จาก new intake ไปยังจุดterminal point (TP-M6)
2. งานรื้อย้าย existing fire fighting pumpไปติดตั้งที่ new intake
และงานติดตั้งfire fighting pipeจาก new intake ไปยังจุดterminal point (TP-M5)
3. งานรื้อถอนท่อน้ำมันเก่า4ท่อและติดตั้งท่อใหม่(new route)TP-M7A to TP-M7B สำหรับท่อ
heavy oil No.2แต่เดิมมีสองท่อหลังจากย้ายแนวใหม่แล้วจะเหลือไว้ใช้งานเพียงท่อเดียว

Thursday, July 27, 2006

Change order

ที่ต้องบันทึกเรื่องนี้ไว้เนื่องจากกำลังเริ่มก่อปัญหาว่าอะไรเป็นงานเพิ่มงานลด เห็นมีบันทึกหลายฉบับตอบโต้กันแล้วเรื่องนี้จะถึงขั้นอนุญาโตฯหรือเปล่าก็ยังหวั่น
อยู่ ต้องดูกันยาวๆต่อไปละว่าจะประนีประนอมกันได้หรือไม่อย่างไรก็เลยต้อง
ฝากเตือนให้ตรวจสอบสัญญากันอย่างละเอียดและต้องตีความอย่างตรงไป
ตรงมาเพื่อหาข้อยุติอย่างเป็นธรรมทั้งสองฝ่าย เขาได้ในสิ่งที่ควรได้และเราก็
ต้องได้ในสิ่งที่เราควรได้ด้วย ไม่ใช่ว่าจะเอาหรือจะได้อยู่ด้านเดียว
ตอนนี้ปัญหามีสองเรื่องที่เห็นก็คือ
1. ปัญหาการย้ายท่อดับเพลิงที่ขวางงานก่อสร้างintake MHIของเป็นงาน
เพิ่มแต่กฟผ.พิจารณาว่าไม่ใช่ (รายละเอียดของเรื่องมีในmyfileแล้ว)
2. ปัญหาการยกเลิกการย้ายCW makeup pumpCตามสัญญา กฟผ.ให้เป็น
งานลด MHIขอcompensate กับaccess road ที่ กฟผ.ขอเพิ่มเนื่องจาก
มีท่อmakeup waterใหม่ขวางทางเข้าไปยังอาคารpumpC ซึ่งหากย้ายpumpC
ตามสัญญา ก็ไม่จำเป็นต้องมีถนนเข้าไป เอาละต้องยอมรับความจริงอย่างว่าการ
งดย้ายpumpเป็นงานลดแน่ตามความเห็นของผม แต่การที่เราเสนอราคางานลดไป
ตั้ง 18 ล้านนี่แหละที่ผมว่ามันมีปัญหาเพราะราคามันน้อยซะเมื่อไหร่ละ และการ
ยกเลิกการย้ายเป็นเจตนาของกฟผ.ด้วยจะใช้หลักอะไรมาคิดหนอ ขอให้ไปดูที่สัญญา
หัวข้อ GC.13ก่อนซึ่งจะมาpostไว้ในวันต่อไปครับ
ทั้งสองเรื่องนี้ยังไม่ได้ข้อสรุปคงต้องติดตามต่อไป ก็ฝากให้ช่วยเสนอแนะด้วยครับ

Wednesday, July 26, 2006

FOB, CFR, CIF

“Free on Board” เงื่อนไขการส่งมอบนี้ ผู้ขายจะสิ้นสุดภาระการส่งมอบสินค้าตามสัญญาก็ต่อ
เมื่อ ผู้ขายได้ส่งมอบสินค้าข้ามกาบเรือขึ้นไปบนเรือสินค้า ณ ท่าเรือต้นทางที่ระบุไว้ ผู้ขายเป็นผู้รับผิดชอบการทํ าพิธีการ
ส่งออกด้วย ส่วนค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้า และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ รวมทั้งความเสี่ยงภัยในการขนส่งสินค้าเป็นภาระของผู้
ซื้อในทันทีที่ของผ่านกาบระวางเรือไปแล้ว

Cost and Freight” เงื่อนไขการส่งมอบนี้ ผู้ขายจะสิ้นสุดภาระการส่งมอบสินค้าตามสัญญาก็
ต่อเมื่อ ผู้ขายได้ส่งมอบสินค้าข้ามกาบเรือขึ้นไปบนเรือสินค้า ผู้ขายเป็นผู้รับผิดชอบในการทํ าพิธีการส่งออก และจ่ายค่า
ระวางขนส่งสินค้า ส่วนค่าใช้จ่ายอื่น ๆ รวมทั้งความเสี่ยงภัยในการขนส่งสินค้าเป็นภาระของผู้ซื้อในทันทีที่ของผ่านกาบ
ระวางเรือไปแล้ว

“Cost, Insurance and Freight” เงื่อนไขการส่งมอบนี้ ผู้ขายจะสิ้นสุดภาระการส่งมอบสินค้า
ตามสัญญาก็ต่อเมื่อ ผู้ขายได้ส่งมอบสินค้าข้ามกาบเรือขึ้นไปบนเรือสินค้า ผู้ขายเป็นผู้รับผิดชอบในการทํ าพิธีการส่งออก
จ่ายค่าระวางเรือ และค่าประกันภัยขนส่งสินค้า เพื่อคุ้มครองความเสี่ยงภัยในการขนส่งสินค้าจนถึงมือผู้ซื้อให้แก่ผู้ซื้อด้วย

Incoterm

เราจะเจอคำว่า CIF,FOBเวลาอ่านสัญญา คำเหล่านี้มีที่มาจากข้อกำหนดในการส่งมอบสินค้าที่เรียกว่าIncoterm ซึ่งมีอยู่ 13รูปแบบแต่ละรูปแบบก็จะเงื่อนไขในตัว
แต่สามารถแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ได้ 3 กลุ่ม ซึ่งผมขอสรุปดังนี้
1. กลุ่ม Departure term ได้แก่EXW = Ex Workกลุ่มนี้ผู้ขายมีภาระหน้าที่รับความเสี่ยงน้อยที่สุด กล่าวคือถ้าผู้ขายขายในประเทศ ก. ขายของให้กับผู้ซื้อในประเทศ ข. โดยกำหนด Incoterm เป็น EXW ซึ่งหมายความว่าผู้ขายไม่มีหน้าที่อะไรเลยนอกจากเตรียมสินค้าที่ขายให้พร้อมต่อการส่ง ผู้ซื้อมีหน้าที่ขนใส่รถหรือพาหนะและนำไปส่งยังท่าเรือหรือสนามบินและต้องซื้อInland Transport จากท่าเรือในประเทศ ก. เพื่อจัดส่งไปยังประเทศ ข.
2. Arrival Terms (หรือกลุ่มDelivery term) กลุ่มนี้จะตรงกันข้ามกับกลุ่มแรกคือผู้ซื้อรับความเสี่ยงน้อยที่สุด โดย ผู้ขายมีหน้าที่ขนส่ง เอาของลง จ่ายเงิน รับผิดชอบinland transportในประเทศของผู้ขายและผู้ซื้อ สรุปง่ายคือผู้ขายมี maximum duty, maximum risk, maximum price termในกลุ่มนี้ได้แก่
DAF = Delivered At Frontier
DES = Delivered Ex Ship
DEQ = Delivered Ex Quay
DDU = Delivered Duty Unpaid
DDP = Delivered Duty Paid
3. Shipment terms กลุ่มนี้ภาระหน้าที่รับความเสี่ยงจะตกแก่ทั้งสองฝ่ายซึ่งเป็นการใช้หลักแบบประณีประนอมในการค้าขายระหว่างประเทศซึ่งกลุ่มนี้จะได้รับความนิยมสูงสุด ทั้งสองฝ่ายคือทั้งผู้ซื้อและผู้ขายจะแบ่งความรับผิดชอบกันโดยผู้ขายรับผิดชอบการขนส่งนับตั้งแต่ท่าเรือไปย้งท่าเรือปลายทางผู้ซื้อ ผู้ซื้อรับผิดชอบInland Transportเองอย่างนี้เป็นต้น ได้แก่
FCA = Free Carrier
FAS = Free Alongside Ship
FOB = Free on board
CFR = Cost and Freight
CIF = Cost, Insurance and Freight
CPT = Carriage Paid To
CIP = Carriage and Insurance Paid To
และที่นิยมใช้กันในการทำสัญญาซื้อขายระหว่างประเทศมีอยู่สามอย่างคือ FOB, CFR, CIF

ศัพท์เทคนิคงานหม้อน้ำ(2)

A heat recovery steam generator (HRSG) is a type of boiler with water tubes placed in the flue of
a gas turbine or other heat source to utilize the waste heat for making steam. Usually the steam
drives a steam turbine and both turbines drive electric generators. This is known as a combined
cycle power plant.
A boiler is a closed vessel in which water or other fluid is heated under pressure. The steam or hot
fluid is then circulated out of the boiler for use in various process or heating applications. A safety
valve is required to prevent over pressurisation and possible explosion of a boiler.
In a combined cycle power plant, or combined cycle gas turbine (CCGT) plant, a gas turbine
generator is combined with a steam turbine generator with the objective to increase the efficiency of
electricity generation.
In a thermal power plant, high-temperature heat as input to the power plant, usually from burning of
fuel, is converted to electricity as one of the outputs and low-temperature heat as another output.

ศัพท์เทคนิคงานหม้อน้ำ(1)

วันนี้จะเสนอศัพท์เทคนิคเกี่ยวกับงานหม้อน้ำที่จะต้องพบต้องเจอเสมอทำความเข้าใจไว้ก็ดี
นะครับ มีดังต่อไปนี้ครับ
Heating Surface
(Steam Boilers) the aggregate surface exposed to fire or to the heated products of combustion, esp.
of all the plates or sheets that are exposed to water on their opposite surfaces; -
called also fire surface.
Fire Surface
the surfaces of a steam boiler which are exposed to the direct heat of the fuel and the products of
combustion; heating surface.
Heating value (or calorific value) is used to define the amount of heat released during the
combustion of a fuel or food. It is measured in units of energy per amount of material. Depending
on the context, heating values may be reported as Btu/m³, kcal/kg, kJ/kg, J/mol, or a variety of other
combinations of units. Heating value in commonly determined by use of a bomb calorimeter.
The quantity known as higher heating value (or gross calorific value or gross energy) is determined
by bringing all the products of combustion back to the original pre-combustion temperature. The
quantity known as lower heating value (or net calorific value) is determined by subtracting the heat
of vaporization of the water in the by-product from the higher heating value results. The lower
heating value is what is typically used for vehicle engine analysis.
Since most gas burning appliances cannot utilize the heat content of the water vapor, gross calorific
value is of little interest. Fuel should be compared based on the net calorific value. This is
especially true for natural gas, since increased hydrogen content results in high water formation
during combustion.

Monday, July 24, 2006

แรงกระทำต่อข้องอและthrust block

วันก่อนมีผู้สงสัยเกี่ยวกับจุดต่อท่อmake-up waterระหว่างไลน์เก่ากับไลน์ใหม่
ว่าเนื่องจากจุดใหม่มีsupportที่ตอกเข็มรองรับแต่จุดเก่าวางอยู่บนsupportที่
ไม่ตอกเข็มจึงมีคำถามว่าจะไม่ทำให้ท่อเก่าทรุดตัวจนเกิดปัญหาต่อความแข็งแรง
ของท่อใหม่และเก่าได้จึงได้ไปพิจารณาดูว่าในการออกแบบsupportใหม่บริเวณน
ี้น่าจะคำนึงถึงแรงอะไรบ้างอย่างแรก
1. ก็น่าจะน้ำหนักท่อใหม่บวกน้ำหนักน้ำเต็มท่อ
2. โมเมนต์และน้ำหนักตัวของท่อเก่าบวกน้ำหนักน้ำเต็มท่อ
3. นอกจากนี้ก็ยังมีแรงจากน้ำที่วิ่งกระแทกข้องอตรงบริเวณนี้อีก ซึ่งวิธีการหาแรงอันเกิดจากการไหลของน้ำในท่อที่กระทำต่อข้องอจึงพอจะหาได้ดังนี้
F = 2 A (ρv2/g + p) cos(θ/2) (1)
where
F = resulting force acting on the pipe bend (N, lb)
A = area of pipe (m2, ft2)
ρ = density of the fluid (kg/m3, lb/ft3)
v = velocity of the fluid (m/s, ft/s)
g = acceleration due to gravity (9.81 m/s2, 32.2 ft/s2)
p = pressure in pipe (kPa, lb/ft2)
θ = angle between pipes - bend angle
The angle the resulting force F makes upstream line of the bend can be expressed as
α = θ/2 (2)
where
α = angle the resulting force makes with the incoming pipe to the bend

Demolitions of exiting fuel oil pipelines (2)

ภาพแสดงท่อน้ำมัน ที่จะทำการรื้อถอน
1. ท่อสีน้ำตาลแดงคือ Heavy oil No.2 สองท่อ
2. ท่อสีเงิน(หุ้มฉนวน)คือHeavy oil No.5 หนึ่งท่อ และ
3. ท่อสีน้าตาลอ่อนคือLight oil
หมายเหตุ ในภาพจะพบมีท่ออื่นๆด้วยซึ่งอยู่ในระหว่างการพิจารณากับทางโรงไฟฟ้าว่าจะทำการรื้อย้ายเมื่อไหร่ อย่างไร หรือโดยใคร Posted by Picasa

Demolitions of exiting fuel oil pipelines (1)



เนื่องจากตามสัญญาที่ระบุไว้ใน attachment M3: Demolitions of fuel oil pipelines and furnish and install new fuel oil pipelines ,volume1,book3 of3 ระบุว่าให้ผู้รับจ้างรื้อถอน (demolish)ท่อน้ำมันที่ขวางแนวพื้นที่ก่อสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ ซึ่งสัญญาระบุว่ามี 4 ท่อ ที่จะต้องทำการรื้อถอน คือท่อ heavy oil No.5 หนึ่งท่อ, ท่อheavy oil No.2 สองท่อ และท่อLight oil หนึ่งท่อ แต่ปรากฎว่าบริเวณดังกล่าวมีท่ออื่นๆด้วย (ดังที่ภาพ ) ซึ่งไม่ได้กล่าวไว้ในสัญญา จึงเป็นหน้าที่ กฟผ.ที่ต้องดำเนินการ จึงมีคำถามต่อมาว่าใครคือ กฟผ.ที่ต้องดำเนินการ Posted by Picasa

วัตถุประสงค์

การจัดทำblogขึ้นมาเป็นช่องทางสื่อสารในรูปแบบที่ไม่เป็นทางการ
ให้กับผู้ปฏิบัติงานที่อยู่ในความคาดหมายว่าจะให้มาช่วยงานได้ทราบ
และติดตามงานได้อย่างรวดเร็วทันทีที่ถูกเรียกตัวให้มาปฏิบัติงาน
ช่องทางนี้เปิดให้สามารถตอบโต้และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้
ในประเด็นของงานหรือปัญหาที่เกิดขึ้น หรือเรื่องอื่นๆ ก็ได้ไม่จำกัด
แต่ต้องไม่ใช่เรื่องที่ผิดกฎหมาย หรือขัดต่อศีลธรรมอันดี
การใช้ชื่อว่าโต๊ะน้ำชาในblogนี้จึงสื่อถึงความเป็นกันเองและ
ความไม่เป็นทางการ เพื่อจะเปิดให้ได้เข้ามาอ่านด้วยเนื้อหาสั้นๆและ
เข้าใจง่าย อันเป็นความตั้งใจไว้แต่ต้น ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเป้าหมายที่จะ
เข้ามาร่วมนั่งโต๊ะน้ำชาที่บ้านนี้ ก็คงไม่พ้นผู้ที่ไปจีบๆไว้ให้มาช่วยงาน
นั่นแหละ นอกนั้นก็จะตามใจเจ้าของบ้าน ส่วนจุดประสงค์ก็มีดังนี้ครับ
1. เพื่อเป็นช่องทางในการสื่อสารระหว่างผู้ปฏิบัติงานในสังกัด มมท-ต.3ทุกที่ทุกเวลา
2. เพื่อให้ทราบความเคลื่อนไหวของงานก่อนที่จะเข้ามาปฏิบัติงาน ที่โครงการ
3. เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และแสดงความคิดเห็นส่วนตัว
4. เพื่อเป็นช่องทางสื่อสารกับผู้บังคับบัญชา
5. เพื่อบันทึกเรื่องราวปัญหางานที่เกิดขึ้น