Thursday, October 05, 2006

ปัญหาที่ต้องเตือนและทักทวงผู้ออกแบบ



ได้แก่ปัญหาsupprot ของท่อ ดังรูป
เป็นstopper ที่ออกแบบให้มีน้ำขังได้แถมยังเชื่อมที่siteการเตรียมผิวเพื่อทำสีเข้าถึงได้ยากคุณภาพก็ไม่ดีด้วย



Guide ตามแบบมีการเชื่อมแค่3ด้านอีกด้านไม่ถูกเชื่อมทำให้มีน้ำเข้าไปได้จะก่อสนิมและเกิดการกัดกร่อนได้









Slide base ออกแบบให้เชื่อมเว้นป็นช่วง ทำให้ระว่างslide base กับbase plateมีช่องว่างทำให้น้ำเข้าไปได้ (slide baseเป็นสแตนเลส SUS304 และ base plateเป็นเหล็กcarbon steel)



สิ่งที่ไม่ควรเกิดกับการวางPipe support


ผู้ทำการติดตั้งไม่ตรวจสอบแนวจุด tie in ก่อน และไม่ตรวจสอบแนวsupport กับแนวท่อที่จะไปต่อกับจุด tie in ทำให้การเจาะรูผิดพลาดต้องเจาะใหม่
ซึ่งไม่นับการเจาะรูใหม่เพื่อหนีแนวเหล็กที่ฝังในคอนกรีต เพราะในส่วนนี้เป็นปัญหามาจากการออกแบบที่ให้มาเจาะรูใส่expansion boltในภายหลัง

ปัญหาของPipe sleeper








Pipe sleeper คือฐานคอนกรีตรองรับท่อมีลักษณะคล้ายคานคอดินสร้างอยู่บนเข็มดังรูป
ปัญหาที่พบคือเมื่อวางpipe supportลงไปจะมีช่องว่างระหว่าง pipe support กับpipe sleeperเนื่องจากไม่สามารถทำให้topคอนกรีตของpipe sleeperได้ระดับที่ถูกต้องซึ่งบางจุด็จะสูงบางจุดก็จะต่ำทำให้ต้องสกัดจุดสูงเพื่อให้ได้ระดับกับจุดต่ำผลก็คือpipe supportจะวางอยู่บนแอ่งคอนกรีตเป็นเหตุให้น้ำขังและอาจเกิดสนิมใต้ท้องpipe supportได้ ดังรูป
แนวทางการแก้ไขเห็นควรเสนอเป็นembeded plate วางและจัดให้ได้ระดับก่อนเทคอนกรีตหรือ เทคอนกรีตให้เหลือไวสัก 5 ซม.แล้วค่อยวางpacker plate หลังจากนั้นจึงทำการgroutingภายหลัง หากมีแนวทางอื่นโปรดแจ้งให้ทราบทั่วกันด้วยเผื่อโครงการที่เกิดที่หลังจะได้ไม่เกิดซ้ำ จึงเรียนมาเพื่อแจ้งให้ทราบและจะได้เตรียมการแก้ไขแบบได้ทันเวลา

Progress of tie in line


งานtie in ท่อ CW.make up และท่อFirefighting ได้ดำเนินการเสร็จสิ้นเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2546 ขณะนี้สามารถใช้ท่อเติมน้ำเข้าcooling tower ของcombined Blook 2ได้แล้วจึงเรียนมาเพื่อทราบกันครับ